วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์

การเคลื่อนผ่าน หรือ การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ มีความหมายในทางดาราศาสตร์อยู่ 3 แบบ คือ
  • การเคลื่อนผ่าน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้าพื้นผิวของวัตถุท้องฟ้าอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อมองจากผู้สังเกตการณ์ ณ จุดสังเกตเฉพาะแห่งหนึ่ง
  • การเคลื่อนผ่าน ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าผ่านเส้นเมอริเดียน เมื่อเทียบกับการหมุนของโลก ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างการขึ้นกับการตก ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านเส้นเมอริเดียนที่จุดเที่ยงวัน การสังเกตการเคลื่อนผ่านเส้นเมอริเดียนเคยมีความสำคัญอย่างมากในอดีตสำหรับใช้ตรวจสอบเวลา
  • การเคลื่อนผ่านของดาว (star transit) ซึ่งใช้หมายถึงเส้นทางของดาวฤกษ์เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ การสังเกตระดับและเวลาที่แม่นยำช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งของดาวฤกษ์ หรือบอกถึงตำแหน่งท้องถิ่นในแนวดิ่งบนโลก (ลองจิจูด) ได้
สำหรับบทความนี้ จะหมายความถึงการเคลื่อนผ่านในความหมายแรก

[แก้]คำจำกัดความ

ภาพจำลอง ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดีเมื่อมองจากโลก มองเห็นเงาของไอโออยู่บนพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไอโอ ดวงอาทิตย์ และโลก ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน
ดวงจันทร์ไดโอนี เคลื่อนผ่านหน้าดวงจันทร์ไททัน เมื่อมองจากยานสำรวจแคสสินี ทางด้านหลังมองเห็นดวงจันทร์โพรมิธูสถูกวงแหวนของดาวเสาร์บดบัง
คำว่า "เคลื่อนผ่าน" ใช้กับกรณีที่วัตถุซึ่งอยู่ใกล้กว่า ปรากฏในรูปทรงที่เล็กกว่าวัตถุด้านหลังซึ่งอยู่ไกลกว่า ถ้าเป็นกรณีที่วัตถุใกล้กว่าแต่ปรากฏในรูปทรงที่ใหญ่กว่าและบดบังวัตถุด้านหลังซึ่งอยู่ไกลกว่า จะเรียกว่า การบัง (occultation)
ตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนผ่าน คือการที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่อยู่ระหว่างผู้สังเกตการณ์บนโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะที่อยู่ใกล้กว่าโลก คือ ดาวพุธและดาวศุกร์เท่านั้น (ดูเพิ่มที่ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์) สำหรับกรณีดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอก เช่น ดาวอังคาร สามารถมองเห็นโลกเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากบนดาวอังคารได้เหมือนกัน
คำนี้ยังใช้กับกรณีที่ดาวบริวารเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวแม่ของมัน ตัวอย่างเช่น หนึ่งในดวงจันทร์กาลิเลียน (ไอโอยูโรปาแกนีมีด และคาลลิสโต) เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากบนโลก
การเคลื่อนผ่าน จะต้องมีวัตถุ 3 ชิ้นเรียงกันอยู่ในแนวเดียวกัน นานๆ ครั้งจึงจะพบกรณีที่มีวัตถุถึง 4 ชิ้นเรียงกัน ครั้งล่าสุดที่มีการเรียงตัวของวัตถุ 4 ชิ้นเกิดขึ้นเมื่อ 27 เมษายน ค.ศ. 1586 เมื่อดาวพุธเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อมองจากดาวศุกร์ ขณะเดียวกันกับที่ดาวพุธและดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อมองจากดาวเสาร์ด้วย
การสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้สร้างความน่าสนใจแก่ความเป็นไปได้ในการตรวจจับการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์เหล่านั้นผ่านหน้าดาวฤกษ์แม่ของตนเอง โดยที่ HD 209458b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่มีการตรวจพบการเคลื่อนผ่านในลักษณะดังกล่าว

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น