วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บั้งไฟพญานาค

ไฟล์:บั้งไฟพญานาค.jpgบั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขง เห็นได้จากทั้งฝั่งไทยและลาว ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน[1] บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาของแต่ละปี
บั้งไฟพญานาคยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด แต่มีคำอธิบายสามแนวทาง คือ เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติตามตำนาน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเป็นการกระทำของมนุษย์

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ลักษณะ

การเกิดบั้งไฟพญานาค บั้งไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง บั้งไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น[2]
โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งๆ ที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ [2]

[แก้]บริเวณที่พบ

ตำแหน่งที่บั้งไฟพญานาคมักจะปรากฏให้เห็นว่า ทั่วทั้ง จ.หนองคาย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 20 จุด โดยในจ.หนองคายเกิดขึ้นหลายจุด แต่จุดที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้พบเห็นบ่อยครั้งเริ่มจากที่ อ.สังคม บริเวณ "อ่างปลาบึก" บ้านผาตั้ง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม ต่อมาที่บริเวณ "วัดหินหมากเป้ง"อ.ศรีเชียงใหม่[2]
ถัดจากนั้นก็จะพบในเขตอำเภอเมืองบ้านหินโงม ต.หินโงม อ.เมือง หน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเดื่อ ต.บ้านเดื่อ อ.เมือง พอเข้าสู่เขต อ.โพนพิสัยก็จะพบแทบจะตลอดลำน้ำโขง ตั้งแต่ปากห้วยหลวง ต.ห้วยหลวง อ.โพนพิสัย ในเขตเทศบาล ต.จุมพล หน้าวัดไทย วัดจุมพล วัดจอมนาง หนองสรวง เวินพระสุก ท่าทรายรวมโชค ต.กุดบง บ้านหนองกุ้ง ซึ่งที่ อ.โพนพิสัยจะพบมากที่สุด แล้วมาพบอีก ที่อ.รัตนวาปี บริเวณ ปากห้วยเป บ้านน้ำเป วัดเปงจาเหนือ บ้านหนองแก้ว ในเขตอ.ปากคาด บ้านปากคาดมวลชล ห้วยคาด อ.ปากคาด และที่ อ.เมืองบึงกาฬ บริเวณวัดอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวหนองคายเชื่อกันว่าเป็นสะดือแม่น้ำโขง เป็นเมืองหลวงของเมืองบาดาล ก็ปรากฏบั้งไฟพญานาคให้เห็นเช่นกัน (ปัจจุบันอำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ อยู่ในการปกครองของจังหวัดบึงกาฬ)[2]
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีชาวบ้านพบเห็นในอ.โขงเจียม กำหนดจุดชมไว้ 3 แห่ง คือ บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย[2]
สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น.ก็จะหมดไป[2]

[แก้]ตัวพญานาค

ร่องรอยบนกระโปรงรถที่เชื่อว่าเกิดจากพญานาค (ภาพจากภาพยนตร์ 15 ค่ำ เดือน 11)
ร่องรอยและเรื่องเล่าต่าง ๆ เกี่ยวกับพญานาค เช่น บุญจันทร์ คำมุงคุณ ผู้ใหญ่บ้านและประธานโฮมสเตย์บ้านน้ำเป อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย เล่าว่า ตนเห็นสัตว์คล้ายงูชนิดหนึ่งอยู่ในน้ำ แต่ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายหงอนต่างจากงูทั่วไป และดวงตามีขนาดเท่าไข่ไก่เห็นเป็นสีแดง งูนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร[3]
จุมพล สายแวว เห็นรอยขนาดใหญ่เหมือนสัตว์เลื้อยคลานทั่วหลังคารถ บางรอยก็เกิดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำโขง นอกจากนี้ เขาได้เห็นภาพและถ่ายวิดีโอสิ่งมีชีวิตลักษณะลำตัวยาว คาดว่ามีหลายตัว เล่นน้ำอยู่กลางลำน้ำโขง ใกล้กับพระธาตุกลางน้ำ คนเชื่อกันว่า พญานาคขึ้นมานมัสการพระธาตุ[3]

[แก้]คำอธิบาย

ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ยังไม่มีคำที่อธิบายที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

[แก้]ตำนานและความเชื่อ

เรื่องของพญานาคในทางพุทธศาสนา ได้กล่าวไว้ว่า เดิมทีพญานาคที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาลนั้นมีนิสัยดุร้าย แต่พอพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ก็เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เลิกนิสัยดุร้าย และคิดจะหันมาออกบวช แต่ก็ติดที่เป็นสัตว์ไม่สามารถบวชได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ พญานาคจึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 ด้วยบันไดแก้ว บันไดเงินและบันไดทอง ที่เหล่าเทวดาทำถวาย ส่วนมนุษย์โลกก็จะทำบุญตักบาตร นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบไหว้บูชา ความนี้เมื่อรู้ถึงพญานาคที่อยู่เมืองบาดาล จึงได้จัดทำ “บั้งไฟพญานาค” และจุดเฉลิมฉลองเช่นกัน และได้กลายมาเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้[4]

[แก้]ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

มนัส กนกศิลป์ อธิบายว่า บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อนที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนและก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญ ซึ่งก๊าซร้อนชนิดนี้ ก็คือก๊าซชีวภาพที่ระเบิดจากหล่มอินทรียวัตถุใต้ท้องน้ำหรือในดินที่เปียก โดยมีแบคทีเรียกลุ่มมีเทนฟอร์มเมอร์ซึ่งดำรงชีวิตได้ในสภาพไร้ออกซิเจนเท่านั้น ณ ความลึกของแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำข้างเคียง เป็นตัวช่วยผลิตก๊าซ แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะได้ก๊าชมีเทนในปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายอย่างน้อย 1.45 เท่า ของความดันบรรยากาศ เมื่อไปเจอความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตรทั้งสิ้น[5]
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าความเป็นกรดและด่างของน้ำในแม่น้ำโขงก็จะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักก๊าซมีเทน ซึ่งคุณหมอได้เคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และค้นพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา คุณหมอมนัสบอกว่าในคืนวันนั้นจะมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก[5]
มนัส กนกศิลป์ เชื่อว่าบั้งไฟพญานาคไม่น่าที่จะเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เพราะคนที่กระทำต้องแข็งแรงมากเพราะกระแสน้ำมันแรงมาก ในขณะที่คนธรรมดากอดเสาอยู่ในน้ำยังทรงตัวไม่อยู่ โดย มนัส กนกศิลป์ ได้เริ่มศึกษาเมื่อปี 2522 ก็มีบั้งไฟพญานาคขึ้นมาแล้ว 120 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้องเกิดขึ้นนานกว่านี้อีก เนื่องจากคนที่ทำคนนี้ต้องมีอายุมากกว่า 104 ปีแล้วต้องทำด้วยตัวเองจึงตัวเองจึงจะคุมความลับได้[ต้องการอ้างอิง]

[แก้]การกระทำของมนุษย์

ภาพถ่ายบั้งไฟพญานาค เวลาเปิดหน้ากล้อง 15 วินาที ที่ บ.ท่าม่วง อ.รัตนวาปี วันที่ 12 ต.ค. 54
ไอทีวีแสดงภาพให้เห็นว่ามีบุคคลจากทางฝั่งลาวยิงบั้งไฟส่องแสงขึ้นฟ้า ในเวลาขณะที่คนฝั่งไทยรอชมบั้งไฟพญานาค และเมื่อสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนพิสัย หนองคายและบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2546 ชาวบ้านในพื้นที่ก็รู้ดีว่ามีการยิงลูกไฟในฝั่งลาวในวันออกพรรษา แต่ลักษณะจะแตกต่างจากบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลางแม่น้ำโขง และสามารถแยกแยะออกว่าอันไหนของจริง อันไหนคนทำ[6]
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไม่มีก๊าซชนิดใดในโลกที่สันดาปเองแล้วกลายเป็นลูกไฟลอยสูงขึ้นไปสูงๆได้ เว้นแต่มีการสันดาปด้วยเชื้อเพลิงขับ เช่น ดินปืน พลุ หรือกระสุนส่องแสง ขึ้นจากฝั่งตรงข้ามแต่หลอกตาเหมือนขึ้นจากน้ำ และยังตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมายังไม่มีภาพถ่ายวิดีโอใดๆเลยที่ชี้ให้เห็นว่าลูกไฟขึ้นจากน้ำได้จริง โดยมักเป็นภาพลูกไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว พร้อมขอให้มีการสร้างบั้งไฟพญานาคเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อพิสูจน์[7]
ศรม รุ้งดนัย ช่างภาพอิสระ ถ่ายภาพบั้งไฟพญานาคที่บ้านน้ำเปอำเภอรัตนวาปีคืนวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ด้วยภาพนิ่งภาพละ 4 วินาที นำภาพทั้งหมดมารวมเป็นภาพเดียวกันด้วยเทคนิค stacked ทำให้ได้ภาพบั้งไฟพญานาคเป็นเส้นสีแดงอมชมภูหลายเส้น มีวิถีมาจากฝั่งลาว[8]

[แก้]วัฒนธรรมสมัยนิยม

มีการนำเรื่องข้องสงสัยที่ของบั้งไฟพญานาค มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 โดย จิระ มะลิกุล ออกฉายเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ภาสกร อินทุมาร จากเว็บไซต์ประชาไท ตั้งข้อสังเกต ประเด็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ว่า "ถึงแม้วิธีคิดของภาพยนตร์จะตอบสนองต่อความรู้สึกร่วมสมัย แต่ชนชั้นดูหนังยอมรับได้หรือไม่ว่า พญานาคและศรัทธา เป็น “ ความจริง ”"[9]

[แก้]ปรากฏการณ์ลูกไฟในที่อื่น

นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ รัฐมิสซูรี และ รัฐเทกซัส ของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ริมฝั่งทะเลแดง[ต้องการอ้างอิง] ในออสเตรเลีย อังกฤษ นอร์เวย์และในยุโรป บางแห่งมีสีฟ้า สีส้ม สีแดงเข้ม สีขาว สีขาวปนเหลือง สีเหลืองทอง สีรุ้ง ขนาดตั้งแต่เท่าลูกปิงปองถึงลูกบาสเกตบอล มีรูปร่างทรงกลม ทรงรี รีคล้ายลูกอ๊อดหัวขึ้น รูปทรงคล้ายเพชร รูปทรงกระบอก ทรงเหลี่ยม และรูปทรงแปลก ๆ การเคลื่อนที่แตกต่างกันไปทั้งอยู่นิ่ง ลอยขึ้นในแนวดิ่งหรือเคลื่อนที่ในแนวราบ บางที่มีให้เห็นนานเกือบ 12 นาที ในบางทีอาจได้ยินเสียงฟู่ หากพบในระยะใกล้ และบ่อยครั้งที่พบตามแหล่งน้ำ ข้อมูลทั้งภาพและข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังมีค่อนข้างน้อย มีชื่อเรียกแตกต่างกัน (ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยัน) เช่น will o’ the wisps, balls of (deep red) light, mysterious light, min min lights, fox fire, elf light, foolish fire, spook lights, ghost lights, ignus fatus, ignis fatuus, jack-o-lantern, corpse candle, hooker light และ earth lights ฯลฯ[10]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ Let there be lights!The Nation, retrieved on 2008-12-11
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 เลาะริมโขง รู้จักจุดชม"บั้งไฟพญานาค"
  3. 3.0 3.1 หลากหลายประสบการณ์...กับพญานาค
  4. ^ เล่าขานตำนานบั้งไฟพญานาค
  5. 5.0 5.1 บั้งไฟพญานาค: ปฏิกิริยาเคมีในลำโขง
  6. ^ ความเกี่ยวเนื่องของแหล่งพลังงานส่วนเกินกับปรากฏการณ์ธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  7. ^ บั้งไฟพญานาค ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมบรรยายวิทยาศาสตร์ลวงโลกกับชีวิตคนไทย ในงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ปี 2554 ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  8. ^ ไขปริศนา บั้งไฟพญานาค
  9. ^ ภาสกร อินทุมาร , 15 ค่ำ เดือน 11 : “ ความลวง ” ของ “ ความจริง ” prachatai.com
  10. ^ ปรากฏการณ์ลูกไฟประหลาด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น