"ซุปเปอร์เอิร์ธ" ดวงใหม่ มีทั้งน้ำ และกลางวัน-กลางคืน
ทีมค้นคว้าวิจัยทางดาราศาสตร์ที่นำโดย ดร.มิกโค ทูโอมิ จากมหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ดเชียร์ ในประเทศอังกฤษและ ดร.กิลเลม แองกลาดา-เอสคูเด จากมหาวิทยาลัยก็อททิงเกน ในประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จในการใช้ข้อมูลที่ได้จากโครงการเคปเลอร์ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา วิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ที่จัดทำขึ้นใหม่จนสามารถค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับโลกของเราโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์หรือที่เรียกว่าดาวเคราะห์"ซุปเปอร์เอิร์ธ" ใหม่ขึ้นมาอีก 3 ดวง โดยที่ 1 ในจำนวนซุปเปอร์เอิร์ธ ที่ค้นพบใหม่ มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิตมากที่สุด
ทีมนักดาราศาสตร์ระบุว่า ดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธ ดังกล่าวนี้อยู่ในกลุ่มดาวพิคเตอร์โดยโคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโลกราว 42 ปีแสง ทั้งนี้ หากข้อมูลที่ตรวจสอบได้เป็นจริง ดาวเคราะห์ดวงนี้ก็จะเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำในสภาพเป็นของเหลวอยู่บริเวณพื้นผิวของดวงดาว ที่จะกลายเป็นองค์ประกอบซึ่งเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติสำคัญที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ดาวเคราะห์ซุปเปอร์ เอิร์ธ เกือบทั้งหมดไม่มีนั่นคือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีวัฏจักรเวลาที่เป็นกลางวัน-กลางคืนอยู่ด้วย
ทั้งนี้ จนถึงขณะนี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์อื่นๆ แล้วมากกว่า 840 ดวง แต่มีเพียงไม่มากนักที่ถูกจัดให้มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับโลก หรือ ซุปเปอร์เอิร์ธ และในจำนวนน้อยดังกล่าวนั้น มีเพียง 2 ดวง รวมทั้งดวงที่ค้นพบหลังสุดนี้เท่านั้น ที่มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของตัวเองในระยะห่างมากพอที่จะก่อให้เกิดกลางวันกลางคืนได้ ในขณะที่ดวงอื่นๆ โคจรอยู่ในระยะประชิดกับดาวฤกษ์มากเกินไปจนเป็นเหตุให้ต้องหันเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์อยู่ตลอดเวลา
ในรายงานการค้นพบซุปเปอร์เอิร์ธดวงใหม่นี้ทีมนักดาราศาสตร์ชุดนี้ระบุเอาไว้ว่าการที่มีกลางวันกลางคืนยิ่งทำให้โอกาสที่ดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธดวงนี้จะมีบรรยากาศคล้ายคลึงกับสภาพบรรยากาศบนโลกมีมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในรายงานยังให้รายละเอียดถึงดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะแห่งนี้ว่าเป็นดาวฤกษ์เอชดี40307ซึ่งมีมวลราวๆ 77 เปอร์เซ็นต์ของมวลดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา และเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ของเรามากคือราว 4,500 ล้านปี ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์ทีมอื่นๆเคยค้นพบดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธ 3 ดวง โคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์ดวงนี้มาก่อนแล้ว การค้นพบครั้งใหม่นี้ ทำให้ เอชดี 40307 มีดาวเคราะห์เป็นบริวารอยู่มากถึง 6 ดวง
ที่น่าสนใจก็คือ ดาวเคราะห์ทั้ง 6 ดวงของ เอชดี 40307 นั้น 5 ดวงแรกโคจรอยู่ภายในระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางเพียง 23 ล้านไมล์ ในขณะที่ดวงที่ไกลที่สุด คือ เอชดี 40307 จี ก็โคจรอยู่ใกล้มากคือวงโคจรเฉลี่ยอยู่ห่างจาก เอชดี 40307 เพียง 33 ล้านไมล์ น้อยกว่าดาวเคราะห์อย่างดาวพุธ ซึ่งโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดแต่ก็ยังห่างถึง 58 ล้านไมล์
อย่างไรก็ตาม เอชดี 40307 ก็มีพลังไม่เทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้ซุปเปอร์เอิร์ธดวงนี้ซึ่งมีมวลมากกว่าโลกของเรา 7 เท่า ไม่มีอุณหภูมิสูงเท่ากับดาวพุธแต่กลับอยู่ในขอบเขตที่อาจเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้แทน
ทีมนักดาราศาสตร์ระบุว่า ดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธ ดังกล่าวนี้อยู่ในกลุ่มดาวพิคเตอร์โดยโคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโลกราว 42 ปีแสง ทั้งนี้ หากข้อมูลที่ตรวจสอบได้เป็นจริง ดาวเคราะห์ดวงนี้ก็จะเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำในสภาพเป็นของเหลวอยู่บริเวณพื้นผิวของดวงดาว ที่จะกลายเป็นองค์ประกอบซึ่งเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติสำคัญที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ดาวเคราะห์ซุปเปอร์ เอิร์ธ เกือบทั้งหมดไม่มีนั่นคือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีวัฏจักรเวลาที่เป็นกลางวัน-กลางคืนอยู่ด้วย
ทั้งนี้ จนถึงขณะนี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์อื่นๆ แล้วมากกว่า 840 ดวง แต่มีเพียงไม่มากนักที่ถูกจัดให้มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับโลก หรือ ซุปเปอร์เอิร์ธ และในจำนวนน้อยดังกล่าวนั้น มีเพียง 2 ดวง รวมทั้งดวงที่ค้นพบหลังสุดนี้เท่านั้น ที่มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของตัวเองในระยะห่างมากพอที่จะก่อให้เกิดกลางวันกลางคืนได้ ในขณะที่ดวงอื่นๆ โคจรอยู่ในระยะประชิดกับดาวฤกษ์มากเกินไปจนเป็นเหตุให้ต้องหันเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์อยู่ตลอดเวลา
ในรายงานการค้นพบซุปเปอร์เอิร์ธดวงใหม่นี้ทีมนักดาราศาสตร์ชุดนี้ระบุเอาไว้ว่าการที่มีกลางวันกลางคืนยิ่งทำให้โอกาสที่ดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธดวงนี้จะมีบรรยากาศคล้ายคลึงกับสภาพบรรยากาศบนโลกมีมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในรายงานยังให้รายละเอียดถึงดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะแห่งนี้ว่าเป็นดาวฤกษ์เอชดี40307ซึ่งมีมวลราวๆ 77 เปอร์เซ็นต์ของมวลดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา และเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ของเรามากคือราว 4,500 ล้านปี ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์ทีมอื่นๆเคยค้นพบดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธ 3 ดวง โคจรอยู่โดยรอบดาวฤกษ์ดวงนี้มาก่อนแล้ว การค้นพบครั้งใหม่นี้ ทำให้ เอชดี 40307 มีดาวเคราะห์เป็นบริวารอยู่มากถึง 6 ดวง
ที่น่าสนใจก็คือ ดาวเคราะห์ทั้ง 6 ดวงของ เอชดี 40307 นั้น 5 ดวงแรกโคจรอยู่ภายในระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางเพียง 23 ล้านไมล์ ในขณะที่ดวงที่ไกลที่สุด คือ เอชดี 40307 จี ก็โคจรอยู่ใกล้มากคือวงโคจรเฉลี่ยอยู่ห่างจาก เอชดี 40307 เพียง 33 ล้านไมล์ น้อยกว่าดาวเคราะห์อย่างดาวพุธ ซึ่งโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดแต่ก็ยังห่างถึง 58 ล้านไมล์
อย่างไรก็ตาม เอชดี 40307 ก็มีพลังไม่เทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้ซุปเปอร์เอิร์ธดวงนี้ซึ่งมีมวลมากกว่าโลกของเรา 7 เท่า ไม่มีอุณหภูมิสูงเท่ากับดาวพุธแต่กลับอยู่ในขอบเขตที่อาจเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้แทน
ที่มา : นสพ.มติชนรายวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น