ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้งาน | สาธารณะ | ||
---|---|---|---|
ผู้ดำเนินการ | บมจ. ท่าอากาศยานไทย | ||
พื้นที่บริการ | กรุงเทพมหานคร | ||
สถานที่ตั้ง | อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ | ||
ฐานการบิน | การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ | ||
ความสูง | 5 ฟุต / 2 เมตร | ||
เว็บไซต์ | |||
สนามบินอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร | |||
01R/19L | 4,000 | 13,123 | ยางมะตอย |
01L/19R | 3,700 | 12,139 | ยางมะตอย |
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2] |
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (IATA: BKK, ICAO: VTBS) เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-บางปะกง ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[3] รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553[4]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออกแบบโดยเฮลมุต ยาห์น มีหอควบคุมที่สูงที่สุดในโลก (132.2 ม.) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (563,000 ม.²) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมง และผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี[5]) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี[5]) นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ดสายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ และไทยแอร์เอเชีย ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้]ชื่อสนามบิน
ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 (ชื่อดังกล่าวถูกนำมาใช้แทนชื่อเดิม คือ "หนองงูเห่า") และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545[6]
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาอังกฤษ ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"
[แก้]ประวัติ
[แก้]การซื้อที่ดินและการก่อสร้างในช่วงแรก
แนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานครเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และองค์การบริหารการบินพลเรือนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงได้เริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[7] พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท[8] นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่[9]
รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี พ.ศ. 2516 จนสัมปทานถูกยกเลิก[10] ต่อมา รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่าหนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด[10]
ปี 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ที่บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ (เป็นรัฐบาลของ "คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)" โดยมี พณ.ท่าน อานันท์ ปัณยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี (2 มีนาคม 2534 ถึง 7 เมษายน 2535))
หลังจากความไม่แน่นอนมานานหลายทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการจัดตั้งบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (NBIA) ขึ้น เนื่องมาจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยก่อนหน้านั้นได้มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540-2544) และต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 ผู้อำนวยการก่อสร้างและการจัดการถูกโอนให้กับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ถูกปิดตัวลง
[แก้]การก่อสร้าง
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น
รายชื่อบริษัทที่ร่วมก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ:[11]
- สถาปนิก - เมอร์ฟี/ยาห์น (Murphy / Jahn)
- ประสานงาน - ACT
- ผู้จัดการโครงการ - TAMS/Earth Tech
- วิศวกร
- Werner Sobek Ingenieure (โครงสร้าง)
- Transsolar Energietechnik (สภาพแวดล้อม)
- Martin/Martin (โครงสร้างตัวอาคาร)
- John A. Martin & Associates (โครงสร้างคอนกรีต)
- Flack + Kurtz (งานระบบ)
- ที่ปรึกษา
- AIK - Yann Kersalé (ระบบแสง)
- BNP (ระบบกระเป๋า)
- ผู้รับเหมา - ITO Joint
- คอนกรีต - อิตาเลียน-ไทย
- หลังคา - B&O Hightex
- สแตนเลส - Thapanin
- ระบบกระเป๋า - คาวาซากิ
งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 50% เป็นงบประมาณของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในขณะที่อีก 50% มาจากข้อตกลงระหว่างท่าอากาศยานไทยกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น[12] ฝ่ายจัดหาที่เกี่ยวข้องกับสนามบินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดในด้านความโปร่งใสและการเปิดเผย ถึงแม้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวจะถูกก่อสร้างขึ้นตามนโยบายประชานิยม ดังที่เคยประกาศไว้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวสำหรับผู้โดยสาร แต่บริษัทส่งออกทั้งไทยและต่างประเทศก็ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานตามถนนมอเตอร์เวย์ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และแหลมฉบังด้วยเช่นกัน
[แก้]ปัญหาในการวางแผนก่อสร้าง
ระหว่างการวางแผนและก่อสร้างสนามบินนั้น โครงการได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น และที่เกรงว่าอาจจะเกิดในอนาคต ปัญหาเหล่านี้ถูกยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาในการวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ดังนี้:
[แก้]ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม
- ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง
- ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด
- ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารผู้โดยสาร
- ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง 20 เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น
- ปัญหาระบบเสียง อะคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้
- ปัญหาจำนวนห้องสุขา ไม่ได้ตามมาตรฐานอาคารสาธารณะขนาดใหญ่พิเศษ
- ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไป-มา จนมาลงเอยที่วันที่ 28 กันยายน 2549 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าวจะมีการหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง) อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่างๆ เป็นอันมาก
- ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 18 กันยายน 2549 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกขูดระหว่างพนักงานทำความสะอาดกระจกหลังคา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ และหลังจากนั้น 1 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ [13]
[แก้]ปัญหาการพัฒนาพื้นที่
จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ผังเมือง และวิศวกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนิก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมนักผังเมืองไทย การสัมมนาทางวิชาการที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- ปัญหาด้านเสียงจากการจราจรทางอากาศ ต่อการพัฒนาที่ดินเป็นแหล่งพักอาศัยโดยรอบ
- ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวระบายน้ำหลักและพื้นที่หน่วงน้ำ "แก้มลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร[14]
- ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายนำทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร [15]
[แก้]ปัญหาอื่น
- การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศไทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน[16]
- เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 เมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกล ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่ระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้[16]
[แก้]การทดสอบสนามบิน และการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดในตอนปลายปี พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากข้อบกพร่องในการก่อสร้าง และข้อกล่าวหาในการฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางความเชื่ออีกว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ซึ่งคนงานก่อสร้างที่เห็นวิญญาณเหล่านั้นเกิดความกลัว ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานไทยจึงได้จัดพิธีสวดมนต์ของพระสงฆ์ 99 รูปเพื่อสะกดดวงวิญญาณ[17]
สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต [18][19] ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ
ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันอย่างจำกัด โดยเจ็ตสตาร์ เอเชีย แอร์เวย์ มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังสิงคโปร์ ส่วนการบินไทยมีเที่ยวบินภายในประเทศไปยังจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี ตามด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ซึ่งระหว่างช่วงเริ่มต้นใช้งานนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ใช้รหัสสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศชั่วคราว คือNBK
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[20]
[แก้]การขยายโครงการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม เป็นผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ทั้งนี้ การขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 62,500 ล้านบาท พร้อมกับจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการ ซึ่งได้อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม มาเป็นผู้ดำเนินงาน[21]
[แก้]การปรับปรุงพัฒนาบริการ
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดบริการอย่างเป็นทางการวัตถุประสงค์เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของคนไทยและชาวต่างชาติ[22]
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้กำหนดเริ่มปรับปรุงทางวิ่งอากาศยานฝั่งตะวันออกกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจค้นโดยให้บริการตรวจค้นรูปแบบใหม่ซึ่งสามารถตรวจค้นเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า หรือ 3,600 คนต่อชั่วโมง[23]โดยใช้งบลงทุน 155 ล้านบาท
[แก้]รายละเอียดท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 150,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 45 ปี[24]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีรันเวย์ขนาน 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร และมีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานขาออกและขาเข้าได้พร้อมกัน[25] และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรองรับอากาศยานแอร์บัส เอ 380 ได้ถึง 5 หลุมจอดและระยะไกลอีก3หลุมจอดทำให้สามารถรับได้สูงสุด 8 ลำ รวม 8 หลุมจอด มีท่าเทียบรวม 51 จุด
ในช่วงแรกของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีศักยภาพรองรับปฏิบัติการเที่ยวบินได้76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง, ผู้โดยสารได้กว่า 45 ล้านคนต่อปี และสินค้า 3 ล้านตันต่อปี[26] และหน้าอาคารผู้โดยสารหลักเป็นโรงแรมภายใต้เครื่องหมายการค้าโนโวเตล ซึ่งมีจำนวน 600 ห้อง อีกทั้งระหว่างอาคารผู้โดยสารและโรงแรมก็มีอาคารจอดรถ 5 ชั้น จำนวน 2 หลัง ซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จอดรถเหนือพื้นดินที่สามารถรองรับรถยนต์ได้อีก 1,000 คัน และพื้นที่จอดรถในระยะยาวที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 4,000 คัน และรถโดยสารอีก 78 คัน
นอกจากนี้ ท่าอากาศยานไทยยังมีแผนการที่จะขยายและปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิด้วยงบประมาณ 800 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเป้าผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2559 และยังเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายในประเทศโดยการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และทางวิ่งที่สามเพิ่มขึ้นอีก[27]
รายละเอียดส่วนหลักสนามบินสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ ดังนี้:
[แก้]อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ม.² มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:[28]
- ชั้นใต้ดิน (B2) - ชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า (เปิดใช้สายละ 1 ชานชาลา)
- ชั้นใต้ดิน (B1) - สถานีรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร ศูนย์การแพทย์ และสำนักงานตรวจสอบไฟฟ้าท่าอากาศยานไทยและศูนย์ควบคุมท่าอากาศยาน
- ชั้น 2 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
- ชั้น 3 - ห้องนั่งเล่น จุดนัดพบ ร้านค้า จุดตรวจ และเคาเตอร์ให้บริการ
- ชั้น 4 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาออกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จุดตรวจควบคุมภาษีศุลกากร ศูนย์ราชการบางแห่ง บูทสายการบิน และเคาเตอร์ข้อมูลสนามบิน
- ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์
- ชั้น 6 - ภัตตาคาร (ปัจจุบันเป็นที่พักพนักงานการบินไทย และอีกด้านหนึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์)
- ชั้น 7 - ชั้นชมทัศนียภาพ
[แก้]การจัดแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมไทย
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 ตน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นต้น[29]
[แก้]งานภูมิทัศน์
งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น
ส่วนภูมิทัศน์ภายในท่าอากาศยาน ได้ออกแบบให้เป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินขนาดใหญ่แบบ Monumental garden 2 สวน ขนาดพื้นที่ถึงแปลงละ 135×108 ม.[30] ตามแบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือ สวน "เมือง" และ สวน "ชนบท" โดยการออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดภูมิจักรวาลและอารยธรรมชาวน้ำ
ในเวลาต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมืองและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่
"สวนเมือง" มีลักษณะเป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์และน้ำพุ ได้อาศัยคติความเชื่อของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องระบบภูมิจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมไทยนอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง
ส่วน "สวนชนบท" มีการประดับโดยใช้หญ้าท้องถิ่นและต้นไม้ตัดแต่งรูปฝูงช้าง ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของไทย ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำลำคลองและทุ่งราบ มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆ ที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นไทย และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้โดยไม่ดูล้าสมัย มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมจำนวนนกภายในสนามบินด้วย
[แก้]สถิติผู้ใช้บริการ
ปี พ.ศ./ค.ศ. | ผู้ใช้บริการ | เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน | Movements | Cargo (ตัน) |
---|---|---|---|---|
2550 / 2007 | 41,210,081 | - | - | 1,220,001 |
2551 / 2008 | 38,603,490 | ▼6.3% | - | 1,173,084 |
2552 /2009 | 40,500,224 | ▲4.9% | - | 1,045,194 |
2553 / 2010 | 42,784,967 | ▲5.6% | - | 1,310,146 |
2554 / 2011 | 47,910,744 | ▲12.0% | 299,566 | - |
มกราคม 2555 / 2012 | 4,995,094 | - | - | - |
ที่มา: Airports Council International[31] |
ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวใน ปี พ.ศ. 2554เป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารเกิน 45 ล้านคน ซึ่งถือว่าเลยขีดจำกัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัญหานี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการรอคอยของผู้โดยสารในการตรวจคนเข้าเมืองนานมาก กองตรวจคนเข้าเมืองต้องทำงานหนักเกินไปและมีปัญหาสุขภาพเช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ [32]
[แก้]สถิติโลก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำลายสถิติโลกในหลายประการ[33] ได้แก่
- มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร
- ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ถึง 17 ไร่
- อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยเป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่ถูกบันทึกว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 563,000 ม.² แต่ในปัจจุบัน สถิติดังกล่าวตกเป็นของอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยราว 1,500,000 ม.²[34]
[แก้]สายการบิน
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตารางบินในฤดูการเปลี่ยนแปลงตารางบินทุก 6 เดือน ช่วงปลายเดือนตุลาคม และปลายเดือนมีนาคมซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นลงของแต่ละสายการบินทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ IATA อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นเป้าหมายของสายการบินต่าง ๆ โดยในเดือนตุลาคม พ.ศ.2555 มีสายการบินจำนวน 77 สายการบินใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ โดยมีจุดหมายปลายทางมากถึง124จุดหมายปลายทางแบ่งเป็น17จุดหมายปลายทางภายในประเทศและ107จุดหมายปลายทางต่างประเทศ[35]
[แก้]สายการบินระหว่างประเทศ
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | |
---|---|---|
ชื่อไทย | ชื่ออังกฤษ | |
กัลฟ์แอร์ (GF) | Gulf Air | บาห์เรน, ริยาร์ด |
กาตาร์แอร์เวย์ (QR) | Qatar Airways | โดฮา ,ฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี |
การบินไทย (TG) | Thai Airways International | กว่างโจว, กัวลาลัมเปอร์, กาฐมาณฑุ, การาจี, โกลกาตา,คุนหมิง, โคเปนเฮเกน, โคลัมโบ, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, โจฮันเนสเบิร์ก, เจนไน, เฉิงตู, ซิดนีย์, ซูริก, เซียะเหมิน, เซี่ยงไฮ้, โซล,ซับโปโร (เริ่ม24ต.ค.), ดูไบ, เดนปาซาร์, เดลี, โตเกียว-นะริตะ, โตเกียว-ฮะเนะดะ, ไทเป-เถาหยวน, ธากา, นะโงะยะ,บริสเบน, บรัสเซลส์, บังคาลอร์, ปักกิ่ง-แคพิทอล, ปารีส-ชาร์ลเดอโกล, ปีนัง, ปูซาน, พนมเปญ, คยา, พาราณสี, เพิร์ท, แฟรงก์เฟิร์ต, ฟุกุโอะกะ, มอสโก, มะนิลา, มัสกัต, การาจี, มิลาน, มิวนิก, มุมไบ, เมลเบิร์น, มาดริดบาราคัส, ย่างกุ้ง, โรม-ฟีอูมีชีโน, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, ละฮอร์, เวียงจันทน์, สตอกโฮล์ม, สิงคโปร์, โอกแลนด์, ออสโล, อิสลามาบัด, โอซะกะ, ฮ่องกง, โฮจิมินห์ซิตี, ไฮเดอราบาด, ฮานอย |
การบินไทยสมายล์(TG) | Thai Smile Airways | มาเก๊า , ไฮเดอราบาด |
การบินลาว (QV) | Lao Airlines | หลวงพระบาง, เวียงจันทน์, สะหวันนะเขต, ปากเซ |
การูดาอินโดนีเชีย (GA) | Garuda Indonesia | จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา |
คาเธย์แปซิฟิก (CX) | Cathay Pacific Airways | การาจี, โคลัมโบ, มุมไบ, สิงคโปร์, ฮ่องกง เฉพาะฤดูกาล: เดลี |
คูเวตแอร์เวย์ (KU) | Kuwait Airways | คูเวต, มะนิลา |
เคแอลเอ็มรอแยลดัตช์แอร์ไลน์ (KL) | KLM Royal Dutch Airlines | ไทเป-เถาหยวน, อัมสเตอร์ดัม |
เคนยาแอร์เวย์ (KQ) | Kenya Airways | ไนโรบี, ฮ่องกง, กว่างโจว |
แควนตัส (QF) | Qantas Airways | ซิดนีย์-คิงส์ฟอร์ดสมิท, ลอนดอน-ฮีทโธรว์ |
โคเรียนแอร์ (KE) | Korean Air | ชองจู, โซล-อินชอน, แทกู, ปูซาน |
จินแอร์ (LJ) | Jin Air | โซล-อินชอน |
แจลเวย์ (JO) | Jalways | นะโงะยะ, โอซะกะ-คันไซ, โตเกียว-นะริตะ |
เจแปนแอร์ไลน์ (JL) | Japan Airlines | โอซะกะ-คันไซ, โตเกียว-นะริตะ, โตเกียว-ฮะเนะดะ, ฟูกูโอกะ , นาะโงะยะ |
เจจูแอร์ (7C) | Jeju Air | โซล-อินชอน, ปูซาน |
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ (JQ) | Jetstar Airways | เมลเบิร์น |
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ (3k) | Jetstar Asia | สิงคโปร์ |
เจ็ตแอร์เวย์ (9W) | Jet Airways | โกลกาตา, เดลี , มุมไบ |
ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (CZ) | China Southern Airlines | กว่างโจว, ซัวเถา |
ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (MU) | China Eastern Airlines | คุนหมิง, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง,จิ่งหง |
ไชน่าแอร์ไลน์ (CI) | China Airlines | เกาสง, ไทเป-เถาหยวน, อัมสเตอร์ดัม |
เซบูแปซิฟิก (5J) | Cebu Pacific | เซบู , คลาร์ก, มะนิลา |
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ (FM) | Shanghai Airlines | เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง |
ดรุกแอร์ (KB) | Druk Air | ธากา, บักโดกรา, พาโร, กูวาฮาตี |
เดลต้า แอร์ไลน์ (DL) | Delta airlines | โตเกียว-นะริตะ |
เตอร์กิชแอร์ไลน์ (TK) | Turkish Airlines | อิสตันบูล-อาตาเติร์ก, โฮจิมินห์ซิตี |
เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (T5) | Turkmenistan Airlines | อาชกาบัต |
ทีเว (TWB) | T'Way Airlines | โซล-อินชอน |
ทรานส์แอโร (UN) | Transaero | มอสโก-โดโมเดโดโว, มอสโก-ชเรเมเตียโว, เยคาเตรินเบิร์ก , เฉพาะฤดู โนโวซิบิร์สก์ |
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) | Tiger Airways | จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา,สิงคโปร์ |
นอร์ดวินด์แอร์ไลน์ | Nordwind Airlines | ยาคุตสค์ |
บริติชแอร์เวย์ (BA) | British Airways | ลอนดอน-ฮีทโธรว์ , ซิดนีย์ |
บางกอกแอร์เวย์ (PG) | Bangkok Airways | ธากา, บังคาลอร์ , พนมเปญ, มาเล, มุมไบ, ย่างกุ้ง, เวียงจันทน์(เริ่ม1 พ.ย.) ,เสียมเรียบ,สิงคโปร์, หลวงพระบาง,ฮ่องกง |
บิมานบังกลาเทศ (BG) | Biman Bangladesh | ธากา |
บิสิเนสแอร์ (8B) | Business Air | โซล-อินชอน |
ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (PK) | Pakistan International Airlines | ละฮอร์ |
ฟินน์แอร์ (AY) | Finnair | เฮลซิงกิ |
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ (PR) | Philippine Airlines | เดลี, มะนิลา ,อิสลามาบัต,ฮ่องกง |
มาเลเซียแอร์ไลน์ (MH) | Malaysia Airlines | กัวลาลัมเปอร์ , ปีนัง |
มาฮานแอร์ (W5) | Mahan Air | เตหะราน-อิหม่ามโคไมนี, มัชฮัด |
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชันแนล (8M) | Myanmar Airways International | ย่างกุ้ง |
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (UA) | United Airlines | โตเกียว สนามบินนาริตะ , วอชิงตัน |
รอแยลเนปาลแอร์ไลน์ (RA) | Royal Nepal Airlines | กาฐมาณฑุ |
รอแยลจอร์แดเนียน (RJ) | Royal Jordanian | อัมมาน, ฮ่องกง,กัวลาลัมเปอร์ |
รอแยลบรูไนแอร์ไลน์ (BI) | Royal Brunei Airlines | บันดาร์เสรีเบกาวัน |
ลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ (LF) | Lao Central Airlines | เวียงจันทน์ |
ลุฟท์ฮันซา (LH) | Lufthansa | กัวลาลัมเปอร์, แฟรงก์เฟิร์ต, โฮจิมินห์ซิตี |
วลาดิวอสต๊อก แอร์ไลน์ | Vladivostok Air | โซล |
เวียดนามแอร์ไลน์ (VN) | Vietnam Airlines | ฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี |
ศรีลังกันแอร์ไลน์ (UL) | Sri Lankan Airlines | โคลัมโบ, ปักกิ่ง, กวางโจว, เซี่ยงไฮ้ |
สกอตแอร์ไลน์ (TZ) | Scoot Airlines | สิงคโปร์ |
สปริงแอร์ไลน์ (9C) | Spring Airlines | เซี่ยงไฮ้ |
สกายสตาร์แอร์เวย์ | Skystay Airway | โซล |
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม (SK) | Scandinavian Airlines System | โคเปนเฮเกน |
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (LX) | Swiss International Air Lines | ซูริก |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ (SQ) | Singapore Airlines | สิงคโปร์ |
ไหหนานแอร์ไลน์ (SQ) | Hainan Airlines | มณฑลไหหลำ,นานกิง |
อูรัล แอร์ไลน์ (U6) | Ural Airline | เยคาเตรินบูร์ก |
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (NH) (เอเอ็นเอ) | All Nippon Airways (ANA) | โตเกียว-นะริตะ, โตเกียว-ฮะเนะดะ |
ออสเตรียนแอร์ไลน์ (OS) | Austrian Airlines | เวียนนา |
อิหร่านแอร์ไลน์ (IR) | Iran Airlines | เตหะราน |
อินเดียนแอร์ไลน์ (6E) | Indigo Airlines | เดลี, มุมไบ, |
อีสตาร์ เจ็ท(ZE) | Eastar Jet | โซล(สนามบินอินชอน) |
อินโดนีเซีย แอร์เอเซีย (QZ) | Indonesia AirAsia | จาการ์ตา, สุราบายา, เมดัง |
อียิปต์แอร์ (MS) | Egypt Air | ไคโร |
อีวีเอแอร์ (BR) | EVA Air | ไทเป (สนามบินเถาหยวน), ลอนดอน (สนามบินฮีทโทรว์), เวียนนา,อัมสเตอร์ดัม |
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ (HY) | Uzbekistan Airways | ทาชเคนต์ |
เอเชียนาแอร์ไลน์ (OZ) | Asiana Airlines | โซล-อินชอน |
เอติฮัดแอร์เวย์ (EY) | Etihad Airways | อาบูดาบี |
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (ET) | Ethiopian Airlines | กว่างโจว, แอดดิสอาบาบา, ฮ่องกง |
เอมิเรตส์ (EK) | Emirates | ซิดนีย์, ดูไบ, ฮ่องกง |
เอลอัล (LY) | El Al Israel Airlines | เทลอาวีฟ |
เอสเซเว่น แอร์ไลน์ (S7) | S7 Airlines | อีคุตคส์, โนโวสิเบียร์สก์, คาบารอฟสค์, ครัสโนยาสค์ |
แอโรฟลอต (SU) | AeroFlot Russian Airline | มอสโก-เชเรเมเตียโว |
แอโรสวิตแอร์ไลน์ (VV) | Aerosvit Airlines | เคียฟ-โบริสปิล |
แอร์โกรยอ (JS) | Air Koryo | เปียงยาง |
แอร์เจแปน (NQ) | Air Japan | โตเกียว-นะริตะ |
แอร์ไชน่า (CA) | Air China | ปักกิ่ง-แคพิทอล |
แอร์เบอร์ลิน (AB) | Air Berlin | ดึสเซลดอร์ฟ, เบอร์ลิน-เทเกล |
แอร์ฟรานซ์ (AF) | Air France | ปารีส-ชาร์ลเดอโกล |
แอร์มาเก๊า (NX) | Air Macau | มาเก๊า |
แอร์มาดากัสการ์ (MD) | Air Madagascar | กว่างโจว, อันตานานาริโว |
แอร์ออสทราล (UU) | Air Austral | แซ็ง-เดอนี |
แอร์อัสตานา (KC) | Air Astana | อัลมาตี |
แอร์อินเดีย (AI) | Air India | เดลี, มุมไบ |
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ (OX) | Orient Thai Airlines | ฮ่องกง |
โอมานแอร์ (WY) | Oman Air | มัสกัต |
[แก้]สายการบินภายในประเทศ
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
การบินไทย (TG) | เกาะสมุย, ขอนแก่น, เชียงราย, เชียงใหม่, ภูเก็ต, หาดใหญ่, อุดรธานี, อุบลราชธานี |
การบินไทยสมายล์ (TG) | กระบี่ ,เชียงใหม่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี |
บางกอกแอร์เวย์ (PG) | กระบี่, เกาะสมุย, เชียงใหม่, ตราด, ภูเก็ต, สุโขทัย, ลำปาง |
แฮปปี้แอร์ (HPY) | แพร่, ระนอง, ร้อยเอ็ด |
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) | บุรีรัมย์ |
ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์ (TRB) | หัวหิน (บินด้วยเครื่องบินเล็ก) |
[แก้]บริการเช่าเหมาลำ
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
แอร์ฟินแลนด์ | เฮลซิงกิ |
แอร์อิตาลีโปลสกา | วอร์ซอ (ตามฤดูกาล) |
ฟินน์แอร์ | เฮลซิงกิ |
ฟลายแอลเอแอล ชาร์เตอร์ | วิลนีอุส |
สายการบินนอร์ทไวนด์ | คาบารอฟสค์, วลาดีวอสตอค |
ทราเวลเซอร์วิส | ปราก |
ทียูไอฟลายนอร์ดิก | |
สมาร์ทลิงซ์ แอร์ไลน์ | ริกา |
[แก้]ขนส่งอากาศยาน
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | |
---|---|---|
ชื่อไทย | ชื่ออังกฤษ | |
แอร์ฮ่องกง | (Air Hong Kong) | ฮ่องกง, ปีนัง |
แอร์นิปปอนแอร์เวย์ | (ANA Cargo) | โอะกินะวะ, ไทเป |
แอร์คาดิ๊ก | (Cardig Air) | ฮ่องกง, จาการ์ตา, สิงค์โปร์ |
คาร์โกลักซ์ | (Cargolux) | เซี่ยงไฮ้, บากู, เซียะเหมิน |
ไชน่าแอร์ไลน์ | (China Airline) | ไทเป, ลักเซมเบิร์ก |
เฟดเอกซ์ | (FedEx Express) | กว่างโจว |
เจแปนแอร์ไลน์คาร์โก | (Japan Airlines Cargo) | สิงคโปร์ |
เจ็จเอ๊กแอร์ไลน์คาร์โก | (Jett8 Airlines Cargo) | สิงคโปร์ |
เคแอลเอ็ม | (KLM Cargo) | ไทเป, อัมสเตอร์ดัม (ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า) |
เค-ไมแอร์ | (K-Mile Airline Cargo) | โฮจิมินห์ซิตี, สิงคโปร์ |
แอร์โคเรียน คาร์โก | (Korean Airline Cargo) | โซล-อินชอน |
ลุฟท์ฮันซา | (Lufthansa Airline Cargo) | ชาร์จาห์, แฟรงก์เฟิร์ต, มุมไบ |
มาร์ตินแอร์คาร์โก | (Martinair Cargo) | สิงคโปร์, อัมสเตอร์ดัม |
นิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์ | (Nippon Cargo Airlines) | สิงคโปร์, โตเกียวนะริตะ |
ซาอุดิอาระเบียนแอร์ไลน์คาร์โก | (Saudi Arabian Airlines Cargo) | กว่างโจว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เจดดะห์, ริยาด |
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์คาร์โก | (Shanghai Airlines Cargo) | สิงคโปร์, เซี่ยงไฮ้ |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ | (Singapore Airlines Cargo) | เจนไน, มุมไบ, สิงคโปร์, โตเกียวนะริตะ |
การบินไทย | (Thai Airway International Cargo) | ฮ่องกง-อัมสเตอร์ดัม, ฮ่องกง-แฟรงก์เฟิร์ต, ดูไบ-แฟรงก์เฟิร์ต, เดลี-อัมสเตอร์ดัม |
ไท เอ็มจี อินทราเอเซียแอร์ไลน์ | (Tri-MG Intra Asia Airlines) | โฮจิมินห์ซิตี, พนมเปญ |
แยงซีเกียงเอ็กเพลส | (Yangtze River Express) | เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง |
ยันดาแอร์ไลน์ | (Yanda Airlines) | โคอิมบาโตร์, ปูเน, เซี่ยงไฮ้, โซล, โตเกียว, เดลี |
[แก้]ผลการดำเนินงาน
[แก้]รางวัลและการจัดอันดับ
ผลการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัลและการจัดอันดับดังต่อไปนี้[36]:
- พ.ศ. 2551 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลก จากผลโหวตประจำปี พ.ศ. 2551 ของนิตยสารท่องเที่ยวของประเทศอังกฤษ Wanderlust
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 – ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 5 ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2551 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2551 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) [37]
- พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 16 ประเภท The World's Best Airports ประจำปี พ.ศ. 2552 จาก SKYTRAX
- พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ของโลก ประเภทดีเด่นด้านอาหารประจำปี พ.ศ. 2552 จาก SKYTRAX
- พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลกจากผลโหวตประจำปี พ.ศ. 2552 ของนิตยสาร Smart Travel ท่องเที่ยวออนไลน์ Smarttravelasia.com
- พ.ศ. 2553 -อันดับที่ 10 ประเภท The World's Best Airports ประจำปี พ.ศ. 2553 จาก SKYTRAX
- 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 5 ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2553 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) [38]
[แก้]ปัญหาหลังจากเปิดให้บริการ
- ปัญหาหลังคารั่ว[39] - ขณะฝนตกหนักในช่วงวันเปิด ได้เกิดหลังคารั่ว จากการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องว่าเกิดการรอยต่อที่ยาซิลิโคนไว้หลุดร่อน และได้ทำการแก้ไขเฉพาะหน้าไปโดยการใช้ถังรองน้ำฝนที่รั่ว และให้ช่างยาแนวรอยรั่วในวันต่อมา
- ปัญหาการจราจรเข้าสู่สนามบิน - ปัญหานี้เกิดเนื่องจากขาดการประสานงานด้านประชาสัมพันธ์ที่พอเพียง ต่อมา ทอท. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ และติดป้ายบอกทางทั่วกรุงเทพฯ และบริเวณทางด่วน
- ปัญหาสายพานรับส่งกระเป๋า ทำให้เกิดความล่าช้า และสูญหายของกระเป๋า ในระยะสัปดาห์แรกของการให้บริการ มีกระเป๋าตกค้าง และล่าช้าอยู่ราว 6000 ใบ
- ปัญหาจำนวนห้องน้ำไม่พอ[39] - ปัญหานี้ภายหลังได้มีการแก้ไขโดยมีโครงการก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม[40] โดยนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้สั่งการให้ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ใช้งบประมาณเร่งด่วนของปี 2550 จำนวนประมาณ 40 ล้านบาท มาสร้างห้องน้ำทั้งภายในอาคารผู้โดยสารและนอกอาคารเพิ่มอีก 20 จุด รวม 205 ห้อง (ห้องน้ำชาย 95 ห้อง และห้องน้ำหญิงอีก 110 ห้อง) [39]
- ปัญหาการประชาชนจำนวนมากเข้ามาเที่ยวชม - ทำให้เกิดความแออัด จราจรติดขัด และไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ร้านอาหารราคาแพงและไม่เพียงพอ ซึ่งทาง ทอท.ได้แก้ปัญหาโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 15 ล้านบาทในการก่อสร้าง ร้านอาหารราคามิตรภาพ บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน A และ G อีกแห่งละจุดรวมเป็น 2 จุด แต่ละจุดจะมีห้องน้ำ 25 ห้อง จะมีการก่อสร้างร้านอาหารที่บรรจุคนได้ 500 ที่นั่ง ส่วนที่บริเวณศูนย์การขนส่งสาธารณะจะก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมอีก 25 ห้อง ห้องอาบน้ำ 10 ห้อง พร้อมทั้งที่พักและร้านอาหารราคาถูก 500 ที่นั่ง[39]
- ปัญหาคาร์โก - เกิดการติดขัดของการออกของที่ส่วนคาร์โก เนื่องจากความไม่พร้อม ในส่วนของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการรายใหม่อย่างบริษัทบางกอก ไฟลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ BFS จนทำให้บรรดาตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ลุกขึ้นมาโวยจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต กรณีนี้บีเอฟเอสถูกระบุว่าไม่เป็นมืออาชีพพอที่จะเข้ามาให้บริการคลังสินค้าและขนถ่ายสินค้า จนทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในโกดังไม่สามารถนำออกมาได้เป็นจำนวนมาก[41]
- ปัญหาสายการบินต้นทุนต่ำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ - ลงทุนที่สุวรรณภูมิไม่คุ้ม ทำให้เกิดการร้องเรียนที่จะกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง [42]
- ปัญหาการเรียกค่าชดเชยของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยรอบสนามบิน
- ปัญหาพื้นทางวิ่งร้าว ทรุด - วันที่ 24 ต.ค. ผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้ทำหนังสือถึงสายการบินทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ได้ปิดปรับปรุงทางวิ่ง-ทางขับ (แท็กซี่เวย์) บริเวณที 13 ซึ่งเป็นลานจอดเครื่องบินบริเวณ อี 4-อี 8 และแท็กซี่เวย์บริเวณบี โดยเป็นช่วงระหว่างแท็กซี่เวย์ซี 4 และซี 5 หรือตรงกับรันเวย์ 19 ด้านซ้ายของสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเกิดการทรุดตัว ซึ่งหากเครื่องบินใช้พื้นที่ดังกล่าวแท็กซี่เวย์เพื่อเข้าหลุมจอดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะถ้าก้อนหิน หรือคอนกรีตปลิวเข้าไปในใบพัดเครื่องบิน โดยที่กัปตันไม่ทราบอาจทำให้เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุได้[43][44]
- ปัญหาความปลอดภัย จำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่พอเพียง เนื่องจากพื้นที่กว้างใหญ่ของสนามบิน และมีกรณีร้องเรียนของพนักงานและเจ้าหน้าที่หญิงที่ถูกคุกคาม[45]
- ปัญหาทางเทคนิคสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของอาคารและทางวิ่งกว่า 60 รายการ เช่น น้ำซึมใต้บริเวณ Taxi way, ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในอาคารไม่พอ, สาย 400 Hz เพื่อส่งไฟให้เครื่องบินสั้นเกินไป, ระบบเครื่องปรับอาคารเย็นไม่พอ, วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เช่น กระจก temper laminated ของบานประตูหมุน, จำนวนห้องน้ำต่อพื้นที่ใช้สอย, ภาพลักษณ์ที่เป็นลบในสายตาประชาชนส่วนใหญ่, การปะปนของคนงานก่อสร้างภายในอาคาร, สนามบิน ไม่มีแบบก่อสร้าง และ AS BUILT DRAWING, เกิดอุบัติเหตุกับคนข้ามถนนภายในบริเวณสนามบิน, ระบบ ITภายในอาคารยังใช้งานไม่ได้ 100 %, ระบบป้ายที่ไม่เป็นเอกภาพ, รถเข็นกระเป๋า ไม่เพียงพอ, ความไม่พร้อมของทางหนีภัย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน, ความไม่พร้อมของบุคลากร ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน,สนามบินไม่คำนึงถึงผู้พิการ, ฯลฯ[46]
- ปัญหาความคับคั่งและปัญหาสั่งสมอื่นที่ต้องพิจารณา - เนื่องจากความเสียหายหลายจุดที่ทางวิ่งใกล้คอนคอร์สอี ด้านทิศตะวันออก จำเป็นต้องมีการปิดซ่อมสนามบินสุวรรณภูมิบางส่วน ทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งภายในสนามบินและเครื่องบินต้องวนคอยเพราะไม่สามารถลงจอดได้ เช่น เหตุการณ์เครื่องบินสายการบินไทยน้ำมันหมด ต้องลงจอดฉุกเฉินแต่เติมน้ำมัน ที่สนามบินอู่ตะเภาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 และที่ประชุมของกรรมการบอร์ด ทอท.ให้ทำการซ่อมผิวทางขับที่เป็นปัญหา ในคืนวันที่ 26 มกราคม 2550 และก่อนหน้านั้นได้มีมติให้เที่ยวบิน pint-to-point ที่เป็นสายในประเทศ สามารถย้ายกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองได้ตามความสมัครใจ โดยเริ่มตั้งแต่ 15 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป มีความเห็นหลากหลายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยหลายฝ่าย[47]
- ปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการไม่พอเพียงและไม่เหมาะสม ได้แก่ ห้องน้ำ ทางลาด สัญญานเสียง ป้ายอักษรแบรลล์ ไม่มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ จนนายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย และพ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ได้ออกมาเรียกร้อง ผ่านทางน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร[48][49]
- ปัญหาท่อน้ำประปาแตกและน้ำนองลงมาในอาคารผู้โดยสาร ทำความเสียหายให้กับกระเป๋า และสำนักงานศุลกากร สร้างความตกตะลึงให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสนามบินจำนวนมาก เมื่อ 11 น. ของวันที่ 27 มกราคม 2550[50]
- ปัญหาการที่กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวทำการบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งหมดอายุลง และไม่ได้ต่ออายุเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หลายส่วนในสนามบินตามคู่มือที่เรียกว่า Aerodrome Operation Manual ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีโอ) ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน ปัญหานี้ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้สนามบิน[50]
- ปัญหาอื่นๆ ที่ตรวจพบโดยพรรคประชาธิปัตย์ - นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2550 ว่า จากการตรวจสอบในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบจุดอันตรายเพิ่มอีก 2 จุด และอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียได้ คือ 1) อาคารสินค้าเขตปลอดอากรที่ไม่ มีการถมทรายในชั้นรากฐาน และการก่อสร้างหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจพังลงมาได้ทุกเวลา และ 2) อาคารผู้โดยสารหลัก ที่อาจเกิดการทรุดตัวของอาคาร โดยพบว่ากระจกด้านริมอาคารเริ่มจะปริแตกออก[50]
- ปัญหาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร - ทางบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัทกิจการร่วมค้าเมอร์ฟี่ จาห์น แทมป์ แอนด์ แอ๊ค (เอ็มเจทีเอ) ผู้ออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แถลงชี้แจงข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 โดยยอมรับว่า การออกแบบอาคารอาจจะผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร คือทางหนีไฟที่ประตูมีการล็อก และห้องน้ำจำนวนน้อยเกินไป[51]
- ปัญหาการผิดกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ของสัมปทานพื้นที่ร้านค้าของ บริษัทคิงพาวเวอร์ - มติของ บอร์ด ทอท. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ระบุว่ารายละเอียดของสัญญาสัมปทานของบริษัท คิง เพาเวอร์ ในส่วนของสัญญาการประกอบกิจการร้านค้าปลอดภาษีและสัญญาการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้ง 2 สัญญาที่คิง เพาเวอร์ทำกับ ทอท.นั้น เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายร่วมทุน เนื่องจากงานในแต่ละสัญญาน่าจะมีวงเงินในการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งจะเข้าข่ายกฎหมายร่วมทุน แต่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายร่วมทุน[52]
[แก้]การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน
- ดูเพิ่มที่ การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
[แก้]รถยนต์
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเส้นทางเข้าออกสำหรับรถยนต์อยู่ 5 เส้นทาง ซึ่งรถแท็กซี่ รถโดยสารขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส ใช้เพื่อการคมนาคมด้วย โดยทางเข้าหลักคือ เส้นทางจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนกรุงเทพมหานคร-ชลบุรี) อีกเส้นทางหนึ่งสามารถเข้าได้จากทางด่วนบางนา-บางปะกง
[แก้]รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ดูบทความหลักที่ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทางเข้าออกท่าอากาศยานเส้นทางสุดท้าย เป็นเส้นทางสำหรับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร โดยใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก มีสถานีรายทางจำนวน 8 สถานี ได้แก่สถานีพญาไท, สถานีราชปรารภ, สถานีมักกะสัน (อโศก), สถานีรามคำแหง, สถานีหัวหมาก, สถานีบ้านทับช้าง, สถานีลาดกระบัง และจะตีโค้งแล้วลดระดับลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อเข้าสู่สถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร
โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเปิดเดินรถในสองรูปแบบ คือรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (City Line) ตัวรถคาดสีน้ำเงิน คิดค่าโดยสายเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ตามระยะทาง ให้บริการจากสถานีจากสถานีพญาไท (เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีนี้) ราชปรารภ สถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง (City Air Terminal) หรือ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน (เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครที่สถานีนี้) รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง จนถึงสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจะรับ/ส่งผู้โดยสารในทุกๆ สถานีตลอดรายทาง และในรูปแบบรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Express) ตัวรถคาดสีแดง คิดค่าโดยสารเที่ยวละ 150 บาท/คน วิ่งตรงจากสถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง (City Air Terminal) หรือ สถานีรถไฟฟ้ามักกะสันถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยความเร็ว 160 Km/h โดยไม่แวะที่สถานีใด ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาทีต่อเที่ยว
รถไฟฟ้าทั้งสองสายจะวิ่งอยู่บนทางยกระดับคู่เส้นเดียวกัน โดยจะมีการสับหลีกและควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้ระบบรถด่วนสามารถวิ่งได้ต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงตรงสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบการให้บริการแล้วและคาดว่าจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
[แก้]รถโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
รถโดยสารปรับอากาศขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่เดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งสิ้น 12 เส้นทาง โดยคิดค่าบริการ 35 บาท โดยไม่จำแนกประเภท[53] เมื่อเดินทางเข้าหรือออกพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทางทั้งหมดประกอบด้วย:
สายที่ | จุดหมาย | ถนนที่ผ่าน |
---|---|---|
549 (สีแดง) | มีนบุรี-บางกะปิ | ถนนลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า ถนนสีหบุรานุกิจ มีนบุรี ถนนเสรีไทย |
550 (สีน้ำเงิน) | จตุจักร | ถนนลาดกระบัง ถนนอ่อนนุช ถนนศรีนครินทร์ ถนนลาดพร้าว สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต (จตุจักร) |
551 (สีน้ำตาล) | อนุสาวรีชัยสมรภูมิ | ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี ทางพิเศษศรีรัช ทางด่วนพระราม 9 ถนนพระราม 9 ถนนอโศก-ดินแดง ถนนราชวิถี |
552 (สีเหลือง) | อู่คลองเตย | ถนนบางนา-บางปะกง ถนนสุขุมวิท ถนนรัชดาภิเษก ถนนสุนทรโกษา |
552A (สีเหลือง) | สมุทรปราการ | ถนนบางนา-บางปะกง ถนนสุขุมวิท |
553 (สีเขียว) | สมุทรปราการ | ถนนลาดกระบัง ถนนกิ่งแก้ว ถนนบางนา-บางปะกง ถนนศรีนครินทร์ ถนนสุขุมวิท |
554 (สีชมพู) | รังสิต | ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกตะวันออก) ถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-ปทุมธานี |
555 (สีม่วงเดิม) | รังสิต | ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี ทางพิเศษศรีรัช ทางด่วนพระราม 9 ถนนพระราม 9 ถนนดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-ปทุมธานี |
558 | เซ็นทรัล สาขาพระราม 2 | ถนนบางนา-บางปะกง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนพระรามที่ 2 |
559 | ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต | ยกเลิกการให้บริการ[54] |
[แก้]รถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส
รถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรสเป็นรถโดยสารที่บริการระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับจุดหมายในเขตตัวเมืองกรุงเทพมหานคร บริการในราคา 150 บาทตลอดเส้นทาง มีบริการทั้งหมด 4 เส้นทาง ซึ่งสามารถใช้บริการได้ที่ชั้นหนึ่งของอาคารผู้โดยสาร เส้นทางทั้งหมดของรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรสประกอบด้วย:
สายที่ | จุดหมาย | ถนนที่ผ่าน |
---|---|---|
ขาไป (ออกจากท่าอากาศยาน) | ||
AE1 | สีลม | ถนนบางนา-บางปะกง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริ ถนนพระรามที่ 4 ถนนสุรวงศ์ ถนนเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัช |
AE2 | บางลำพู | ถนนบางนา-บางปะกง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรพงษ์ ผ่านถนนข้าวสาร |
AE3 | ถนนวิทยุ | ถนนบางนา-บางปะกง ถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต ถนนวิทยุถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริ ถนนเพชรบุรี ถนนชิดลม |
สุขุมวิท 3 | ถนนบางนา-บางปะกง ถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต ถนนราชดำริ ถนนเพชรบุรี | |
AE4 | หัวลำโพง | ถนนบางนา-บางปะกง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ถนนพญาไท ถนนพระรามที่ 4 |
ขากลับ (เข้าสู่ท่าอากาศยาน) | ||
AE1 | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ถนนสีลม ถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ ถนนนิคมมักกะสัน ถนนเพชรบุรี ทางด่วนเพชรบุรี |
AE2 | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ถนนจักรพงษ์ ถนนราชดำเนินกลาง |
- ปัจจุบัน ได้ยกเลิกการให้บริการแล้ว
[แก้]เหตุการณ์ที่สำคัญ
- ดูเพิ่มที่ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551
เวลาประมาณ 14.45 น. วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประมาณ 5,000 คน เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่กลุ่มพันธมิตรจะเข้าถึงตัวอาคาร PTC (Passenger Terminal Complex) มีการสกัดกั้นของทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานและเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 - 300 นาย แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้านทานผู้ชุมนุมไม่ไหวได้ถอยร่นมาเรื่อยๆ จนเวลาประมาณ 19.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมก็ต้านเจ้าหน้าที่จนถึงตัวอาคารและทำการชุมนุมอยู่ด้านนอกอาคารผู้โดยสาร และผู้ชุมนุมทยอยเดินทางเข้ามาสมทบมากขึ้นประมาณ 80,000 คน
เช้าของวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประกาศหยุดทำการบิน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เวลา 21.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงการณ์ประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในเขตพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที
จากเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาทำให้การเดินทางทางอากาศไปสู่ท่าอากาศยานนานาชาตือื่นต้องหยุดลง ทำให้สายการบินที่มีมีกำหนดลงจอด ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องไปลงจอด ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาแทน ประกอบกับนักท่องเที่ยวติดค้างในประเทศไทยเป็นจำนวนมากทำให้สายการบินต่างต้องใช้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อขนส่งผู้โดยสารที่ติดค้างแทน แต่เนื่องจากท่าอากาศยานอู่ตะเภารองรับปริมาณผู้โดยสารได้จำนวนจำกัดด้วยเรื่องของพื่นที่และอุปกรณ์ที่จะรองรับได้ สายการบินต่างๆ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการเพื่อรองรับการ Check In ขึ้นที่ BITEC บางนา ผ่านระบบของ Airline Host โดยตรง โดยเชื่อมต่อเครือข่ายของ True ระบบได้เริ่มติดตั้งที่ไบเทคบางนาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คาดว่าจะเริ่มบริการให้กับผู้โดยสารได้ในวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป สายการบินที่จะไปบริการแก่ผู้โดยสารที่ไบเทค ดังนี้ สายการบินไทย, สายการบินอีวีเอแอร์ไลน์, สายการบินกรุงเทพ เป็นต้น
วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตย ทยอยสลายการชุมนุมหลังจากได้ประกาศเลิกชุมนุมเมื่อวันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ไปแล้ว
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มชายฉกรรจ์ชุดดำเกือบ 200 คน กระจายอยู่บริเวณอาคารจอดรถโซน 2 สนามบินสุวรรณภูมิ เหตุจากขัดแย้งภายในของหุ้นส่วนบริษัทได้รับอนุญาตจัดการลานจอดรถในอาคาร ทำให้สร้างความตื่นตระหนก ให้แก่ผู้ใช้บริการ[55]
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2555 เกิดเหตุระบบเรดาห์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองใช้การไม่ได้สาเหตุจากระบบไฟฟ้าขัดข้องส่งผลให้เครื่องบินต้องย้ายไปลงจอดที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภอและท่าอากาศยานภูเก็ตเป็นการชั่วคราว[56]
วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2555 เวลาประมาณ 20.30 น. รันเวย์ด้านตะวันตก 19R ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้พบร่องรอยยุบตัวของยางมะตอยบริเวณกึ่งกลางรันเวย์จุดร่องล้อที่เครื่องบินลง กว้าง 60 ซม. ยาว 60 ซม. ลึก 5 ซม.เครื่องบินต้องย้ายการลงจอดไปที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาและท่าอากาศยานดอนเมือง[57]
[แก้]อ้างอิง
- ^ Airport information for VTBS at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
- ^ Airport information for BKK at Great Circle Mapper. Source:DAFIF (effective Oct. 2006).
- ^ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ^ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง ความภูมิใจของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ^ 5.0 5.1 Suvarnabhumi Airport. About Suvarnabhumi Airport. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ^ Suvarnabhumi Airport: Thai Auspicious Name (อังกฤษ)
- ^ ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 81.
- ^ ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 82.
- ^ ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 83.
- ^ 10.0 10.1 ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 87.
- ^ Architectural Record, ฉบับสิงหาคม 2550, หน้า 110
- ^ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก: ข่าวที่ 11 / 09 – 5 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544
- ^ "เพ้ง" รับหลังคา "เทอร์มินอล" รั่ว อ้างเป็นเรื่องปกติสนามบินใหม่"นสพ.มติชน 19 ก.ย. 2549
- ^ Bangkokpost newspaper (20 October 2005) Dream city called flood nightmare : Environmental chaos will ensue - Apirak
- ^ นสพ.เดลินิวส์ 11 กย.49 ผู้โดยสาร 'ป่วนแน่!' 'แท็กซี่' เซ็ง! 'ไม่ไปสุวรรณภูมิ??'
- ^ 16.0 16.1 สุวรรณภูมิในมุมมองวิศวกรไทย อย่าหลงระเริงกับความอลังการ มองไปข้างหน้า...ก้าวสู่ฮับให้ได้ดั่งฝัน, นสพ.มติชน 8 ก.ย. 2549
- ^ Richard Lloyd Parry, "Poo Ming – a blue ghost who haunts $4bn airport", The Times, 2006-09-27
- ^ ThaiDay, "THAI discounts tickets for historic test flights", July 1, 2006.
- ^ "PM Thaksin says Suvarnabhumi Airport ready in two months",MCOT, 29 July 2006.
- ^ USA Today, "Bangkok's new airport opens to first commercial flights", 15 September 2006.
- ^ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338372958&grpid=&catid=05&subcatid=0504
- ^ http://www.thairecent.com/Local/2011/885097/
- ^ http://www.thaipost.net/news/140612/58217
- ^ สุวิทย์ สุทธิจิระพันธ์. วารสารเศรษฐกิจและสังคม มกราคม – กุมภาพันธ์ 2547. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ : ท่าอากาศยานที่ทันสมัยที่สุดแห่งใหม่ของโลก
- ^ Bangkok Post, New Bangkok Airport - Now Aiming For July 2006 Opening, 2005
- ^ Suvarnabhumi Airport: About Suvarnabhumi
- ^ MCOT English. AoT to spend Bt800 billion to upgrade Suvarnabhumi Airport. เรียกดู 18-10-09
- ^ Suvarnabhuni Airport Fact Sheet
- ^ Suvarnabhumi Airport: Thai Torch (อังกฤษ)
- ^ Peter Walker and Partners (2005) Landscape Architecture : Defining the Craft. ORO Edition
- ^ "Passenger Traffic 2010 FINAL". Airports Council International. 2012-08-01.http://www.airports.org/cda/aci_common/display/main/aci_content07_c.jsp?zn=aci&cp=1-5-54-55_666_2__. เรียกข้อมูลเมื่อ 2012-04-29.
- ^ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110207/375574/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2---%E0%B8%95%E0%B8%A1.%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%81.html
- ^ Suvarnabhuni Airport: World Records
- ^ "Dubai airport passengers top 37m". The National. 2009.http://www.thenational.ae/article/20090125/BUSINESS/646489398/1057/rss. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-30.
- ^ http://www.thailandairlinetimetable.com/index.html
- ^ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. รางวัลและเกียรติยศของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553
- ^ Airport Council International. ACI Airport Service Quality Awards 2008. p.3 สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ^http://www.airports.org/cda/aci_common/display/main/aci_content07_banners.jsp?zn=aci&cp=1-7-46%5E41035_725_2__
- ^ 39.0 39.1 39.2 39.3 ข่าว"ธีระ"จี้ทอท.แก้"แท็กซี่เวย์"ร้าว! อัด40ล.เพิ่มห้องน้ำสุวรรณภูมิ มติชน 26 ตค. 49/
- ^ ‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ... (1) ความอลังการบนความไม่พร้อมนสพ.เดลินิวส์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ ข่าว‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ... (2) ปัญหาคาร์โก...ต้นตออยู่ที่ใคร (จบ) นสพ.เดลินิวส์, 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ บินถูกรุกกลับดอนเมือง ชี้ลงทุนสุวรรณภูมิไม่คุ้ม นสพ.มติชน, 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ 'สุวรรณภูมิ'ป่วน! สนามบินทรุด-สั่งปิดปรับปรุง, นสพ.เดลินิวส์, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ "ธีระ"จี้ทอท.แก้"แท็กซี่เวย์"ร้าว! อัด40ล.เพิ่มห้องน้ำสุวรรณภูมิ, นสพ.มติชน, 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ บทความ‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ.. (1) ความอลังการบนความไม่พร้อม, นสพ.เดลินิวส์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ เว็บไซต์คณะทำงานชุดที่ 1 : แก้ไขปัญหาผู้โดยสาร พนักงานและประชาชน ของบอร์ดทอท.
- ^ เปิดสนามบินดอนเมืองดีเดย์15มี.ค.50, นสพ.ผู้จัดการรายวัน 12 มกราคม พ.ศ. 2550
- ^ นสพ.ข่าวสด, 2 มกราคม พ.ศ. 2549
- ^ เว็บบอร์ดมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
- ^ 50.0 50.1 50.2 "ปชป."ร่วมขย่ม"สุวรรณภูมิ"ซ้ำ แฉอาคารสินค้า-ผู้โดยสารทรุด ท่อประปาแตกน้ำท่วมกระเป๋า!, นสพ.มติชน, 28 มกราคม พ.ศ. 2550
- ^ ข่าว"เอ็มเจทีเอ"โต้ออกแบบสุวรรณภูมิ "ผู้รับเหมา-เจบิค"เซ็นรับรองแบบ, นสพ.มติชน, 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- ^ บทความปฏิบัติเช็คบิล "คิง เพาเวอร์" อย่ารุกเพลินจนลืมระวังหลัง, นสพ.มติชน, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
- ^ อัตราค่าโดยสาร รถโดยสารประจำทาง (มีนาคม 2549)
- ^ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. ขสมก. ยกเลิกเดินรถสาย 559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – ถนนวงแหวนรอบนอก. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ^ http://thairecent.com/Crime/2010/725569/
- ^http://www.komchadluek.net/detail/20120622/133406/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99.html
- ^ http://www.manager.co.th/business/viewnews.aspx?NewsID=9550000082768
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์หลักของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- เว็บไซต์เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ข้อมูลของโครงการจาก Airport Technology (อังกฤษ)
- สภาพอากาศปัจจุบันของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อังกฤษ)
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
- แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น