สัตว์ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานอย่างสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) คือสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียส มีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์คือนิวเคลียส ไซโทพลาซึมและเยื่อหุ้มเซลล์ มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีผนังเซลล์และมีความอ่อนนุ่มมากกว่าเซลล์พืช ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต
ในโลกนี้มีสัตว์จำนวนมากมายหลากหลายชนิด บางพวกก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน บางพวกก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป นักวิทยาศาสตร์จึงได้กำหนดให้ใช้ลักษณะของกระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกสัตว์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับในอาณาจักรสัตว์ได้แก่สัตว์ทุกชนิดตั้งแต่ ไทรันโนซอร์รัส เร็กซ์ พลานาเรีย พยาธิตัวตืด หนอนท่อ พยาธิใบไม้ ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล ปลิงทะเล แมงกะพรุน แมงกะพรุนไฟแมงดาทะเล หอย หมึก กุ้ง ปู ปลา ฉลาม กระเบน กระเบนราหู เต่า จระเข้ กบ คางคก งู งูเห่า งูเหลือม งูจงอาง ด้วง แมลงปอ ผึ้ง ผีเสื้อ แมลงสาบ ลิงอุรังอุตังลิงกอริลลา กระต่าย กระต่ายอาร์กติก นก หนู สุนัข แมว เสือ เก้ง กวาง ช้าง ม้า วัว ควาย พะยูน กระทิง จิงโจ้ โคอาลา เมียร์แคต พังพอน เม่น เป็นต้น สำหรับในทางชีววิทยา มนุษย์ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์เช่นกัน ปัจจุบันมีสัตว์ที่ค้นพบและมีการจำแนกชนิดและสายพันธุ์แล้ว มากกว่า 1.5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
|
เสือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่า และอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย
เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง
ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที่สุด
|
|
|
|
ดาวมงกุฎหนาม • แตนทะเล • กัลปังหา • พยาธิตัวจี๊ด • พยาธิปากขอ • พยาธิเส้นด้าย • พยาธิไส้เดือน • หนอนตัวกลม •หนอนทะเล • แมลงหางหนีบ • ดาวหมอน • หอยเจดีย์ • หอยกาบ • แมงมุมปู • หอยโข่ง • หมึกสาย • ไรแดง • กุ้งมังกร• ไรฝุ่น • ตัวสามง่าม • มวนจิงโจ้น้ำ • เหา • ต่อแมงมุม • ต่อหลุม • ต่อหัวเสือ • ปลวก • มอด • เห็บ • ริ้น • ไร • ตั๊กแตนทะเลทราย • ตัวกะปิ • ผีเสื้อกระดองเต่าเล็ก • ผีเสื้อนกยูง • ผีเสื้อปีกขาวเล็ก • ผีเสื้อกะลาสี • ผีเสื้อหางแฉก • ผีเสื้ออพอลโล • ชีปะขาว • ด้วงงวงขน • ด้วงดิน • ต่อฟันเลื่อย • ต่อทาแทนทูลาฮอวก์ • ตั๊กแตนกิ่งไม้ • เพลี้ยกระโดด • มดกัดใบ • มดเก็บเกี่ยว • มดบลูด็อก • มดป่า • แมงป่องน้ำ • แมงป่องแส้ • แมงมุมกระโดด • แมงมุมกับดัก • แมงมุมทาแรนทูลา • แมลงช้าง • แมลงดานา • แมลงปอเข็ม • แมลงปอจักรพรรดิ • แมลงภู่ • แมลงสาบยักษ์มาดากัสการ์ • กระสุนพระอินทร์ • กิ้งกือยักษ์ • กิ้งกือหลังแบน • ด้วงกินซาก • ด้วงน้ำมัน • ด้วงมูลสัตว์ • ด้วงแรด • ด้วงสี่ตา • ด้วงดิ่ง • ต่อรัง• ตั๊กแตนกิ่งไม้น้ำ • ตั๊กแตนสี • หอยทากต้นไม้ • หอยทากแอฟริกา • หอยโข่ง • ตั๊กแตนกล้วยไม้ • ผีเสื้อกลางคืนซินนาบาร์ • ผีเสื้อกัมจักรพรรดิ • ผีเสื้อเหยี่ยว • ผีเสื้อเดินขบวน • ผีเสื้อฮามาไดรแอส • ผีเสื้ออุปราช • ผีเสื้อโมนาร์ก •ผีเสื้อม้าลาย • ผีเสื้อมอร์ไฟ • ผีเสื้อฟ้าธรรมดา • ผีเสื้อกลางคืนไอโอ • ผีเสื้อกลางคืนแอตลาส • ผีเสื้อกลางคืนโลปา
มาร์มอท • ไก่มัลลี • ตัวดีดทราย • ตะกวดออสเตรเลีย • กบซับน้ำ • กวางมูส • คาปิบารา • เจเรานุก • ปลาพยาบาล •ปลากะรังหัวโขน • ฉลามเสือ • ฉลามหัวค้อน • ปาด • ซาลามานเดอร์ • ตะพาบน้ำม่านลาย • นกกะรางหัวหงอก • นกเอี้ยง• นกเหยี่ยวรุ้ง • นกปากไขว้ • นกกาน้ำตาสีน้ำเงิน • นกมาคอว์ • นกทูแคน • นกสาลิกาดำ • นกตบยุง • กระต่ายทะเลทราย • สิงโตทะเลกาลาปากอส • โพลาร์ • บีเวอร์ • ตัวกินมด • ค้างคาวแม่ไก่ • เต่ากาลาปากอส • เม่นกินมด • ลิงบาบูน• กวางแฟลโลว์ • นกอินทรีหางพลั่ว • ปลากระโทงเทง • ปลากินยูง • ปลาไหลทราย • ควอล • งูเหลือมต้นไม้สีมรกต •นกโรดรันเนอร์ • นกเดินดงสีดำ • บาราล • นกอีมู • นกฮัมมิงเบิร์ด • ปลาแองเกลอร์ • กระเบนค้างคาว • งูทะเลสีมะกอก• งูทะเลลายดำเหลือง • งูทะเลหัวสุนัข • นกทูแคน • นกไต่กำแพง • นกปากไขว้ • นกจับหอย • นกช้อนหอยเหลือบ •นกนางนวลแกลบอาร์กติก • นกนางนวลหางแฉก • วาฬนาร์วาล • ปลากระจก • ปลากระต่าย • ปลาตะเกียง • ปลาไหลกัลเปอร์ • โลมาลายจุด • โลมาสปินเนอร์ • นกฮูกหิมะ • วาฬนำร่อง • วาฬเบลูกา • วาฬหัวทุย • วาฬสีเทา • สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย
|
|
สถานีย่อยอื่น : การทหาร • การเขียนโปรแกรม • การ์ตูนญี่ปุ่น • คณิตศาสตร์ • เคมี • ดนตรี • ดาราศาสตร์ • เทคโนโลยีสารสนเทศ • โทรทัศน์ • นิยายวิทยาศาสตร์ • ประเทศจีน • ประเทศญี่ปุ่น • ประเทศไทย • ประเทศฝรั่งเศส • ประวัติศาสตร์ • พรรณพฤกษา • พระพุทธศาสนา • พายุหมุนเขตร้อน •แพทยศาสตร์ • ฟิสิกส์ • ฟุตบอล • ภาพยนตร์ • ภาษา • เภสัชกรรม • โลกของสัตว์ • โลกวรรณศิลป์ • วิดีโอเกม • วิทยาศาสตร์ • วิทยุสมัครเล่น • เวลา •ศาสนา • สถาบันอุดมศึกษาไทย • สมุนไพร • เหตุการณ์ปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น