วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

น้ำเก๊กฮวย



น้ำเก๊กฮวยในถ้วยพร้อมดอก
น้ำเก๊กฮวย (อังกฤษChrysanthemum tea หรือ Flower teaจีน菊花茶พินอินjúhuā chá) เป็นเครื่องดื่มทำจากดอกเก๊กฮวย คือ เบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum Linn. ในวงศ์ Compositae) หรือเบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat. ในวงศ์เดียวกัน) ตากแห้งต้มกับน้ำตาล[1]
วิธีทำคือ นำดอกเก๊กฮวยอบแห้ง 5-10 ดอก ลงไปในหม้อกับน้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มนาน 5 นาที แล้วกรองออก จะเติมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลกรวดลงไปเพื่อเพิ่มความหวาน หรือไม่ตามแต่ชอบ หรือจะเพิ่มความหอมโดยการใช้ใบชาหรือเตยลงไปด้วยก็ได้ รับประทานได้ทั้งร้อนและเย็น
ประโยชน์ของน้ำเก๊กฮวยมีอยู่ด้วยกันหลายประการ นอกจากความหอมสดชื่นแก้ประหายแล้วแล้ว ยังเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน ในตำราการแพทย์แผนจีน ช่วยในระบายและย่อยอาหาร ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเส้นเลือดตีบ และโรคหัวใจได้ ช่วยจัดสารพิษให้ออกจากร่างกาย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ต่าง ๆ [2] [3]

[แก้]อ้างอิง

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

สะเต๊ะ



สะเต๊ะ
Sate Ponorogo.jpg
สะเต๊ะเนื้อวัว
ข้อมูลจุดกำเนิด
ชื่ออื่นซาเต
ประเทศกำเนิด:เกาะชวา อินโดนีเซีย
ภูมิภาค:ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
เจ้าตำรับของอาหาร:อาหารอินโดนีเซีย
ข้อมูลอาหาร
ประเภท:อาหารว่าง
อุณหภูมิการเสิร์ฟ:ร้อน
ส่วนประกอบหลักเนื้อสัตว์หมักกับเครื่องเทศ แต่งสีเหลือง เสียบไม้ย่างให้สุก กินกับน้ำจิ้มและน้ำอาจาด
ข้อมูลอื่น:ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดียและอาหารตุรกีที่เรียกคาบับ
สะเต๊ะไก่ในมาเลเซีย
สะเต๊ะ (อังกฤษsatay , ฝรั่งเศสsaté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน
สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน[1]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ อาหารมุสลิม. กทม. แสงแดด. 2547 หน้า 13

แกงไตปลา



แกงไตปลา
ไตปลา (ภาคกลาง) หรือ พุงปลา (ภาคใต้) เป็นการถนอมอาหารแบบหมักดองชนิดหนึ่ง โดยใช้กระเพาะของปลา เช่น ปลาทู ปลาลัง ปลาดุก ปลาช่อน หรือปลาอื่นๆมาหมักกับเกลือ โดยนำขี้และดีออกจากกระเพาะก่อน หมักไว้ 10 -30 วันก็ใช้ได้ ไตปลาที่หมักได้ที่จะเหลวและมีมันไหลออกมา นำไปทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ไตปลาที่เป็นเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกของทางภาคกลาง หรือแกงพุงปลาที่เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุง
ไตปลาที่เป็นเครื่องจิ้มนี้เป็นที่มาของอาหารชาววังที่เรียกว่าแสร้งว่าหรือแสร้งว่าไตปลา ซึ่งเป็นการปรุงแบบเดียวกับน้ำพริกไตปลาเพียงแต่ตัดไตปลาที่มีกลิ่นเหม็นคาวออกไป ใส่เครื่องปรุงอื่นลงไปแทน เช่น กุ้ง[1]แสร้งว่านี้ เป็นอาหารที่มีในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2

[แก้]แกงไตปลา

แกงไตปลาหรือแกงพุงปลาเป็นแกงที่มีไตปลาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ มีทั้งแบบที่ใสและไม่ใส่กะทิ แบบใส่กะทิเป็นที่นิยมในบางท้องที่ เช่นที่จังหวัดยะลา การแกงจะต้มกะทิแค่พอสุก ไม่แตกมัน น้ำพริกแกงประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง เกลือ พริกไทยเม็ด ตะไคร้ผิวมะกรูด กระเทียม ขมิ้น หอม กะปิ[2]
แกงไตปลาแบบชุมพรจะไม่ใส่ข่า กระชาย หอม กระเทียมในน้ำพริกแกง แต่จะซอยละเอียดใส่ลงในแกง เรียกแกงแบบนี้ว่าแกงไตปลาเครื่องซอย[3]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ แสร้งว่า
  2. ^ ครัวปักษ์ใต้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กทม. แสงแดด. 2551.หน้า 26
  3. ^ ครัวปักษ์ใต้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กทม. แสงแดด. 2551. หน้า 188
  • อาหารการกินลุ่มทะเลสาบ. สงขลา : เครือข่ายสตรีรอบทะเลสาบ. 2551 หน้า 37

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

แกงมัสมั่น



แกงมัสมั่น
แกงมัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน[1]
แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ต่างจากการปรุงแกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลางคือ จะไม่ทำเป็นน้ำพริกแกงมัสมั่น แต่จะผสมลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกป่นอินเดียและพริกไทยป่นไว้เป็นผงเครื่องแกง จากนั้นจึงนำลงไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอมแล้ว ส่วนแกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วจึงใส่พริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีนและหน่อไม้จีนด้วย
เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก[2]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ อาหารมุสลิม. แสงแดด. 2547. หน้า 14
  2. ^ World's 50 most delicious foods